วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการวางแผนงานสอบบัญชี

- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
- ช่วยให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบเป็นไปอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้เกิดความรวมมือกับลูกค้าและป้องกันการเข้าใจผิด โดยทำความตกลงกำหนดการต่างๆล่วงหน้า และยืนยันกำหนดการดังกล่าว
- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจได้ว่า ได้มีการพิจารณาเรื่องสำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถระบุและจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
- ช่วยให้มีการมอบหมายงานแก่ผู้ช่วยอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้มีการประสานงานกับผู้สอบบัญชีอื่นและผู้เชี่ยวชาญ

การวางแผนงานตรวจสอบขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
การพิจารณาเลือกรับงานการสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรือาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานสอบบัญชีได้
การรับงานสอบบัญชี จำแนกออกได้ 2 กรณี ดังนี้
1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่
1.1 ลูกค้าใหม่ที่จัดตั้งกิจการใหม่
ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชี
สำหรับลูกค้ารายใหม่ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้น เนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นไว้เพื่อประเมินความเสี่ยงเช่น
- ประเภทธุรกิจของลูกค้า
- ผู้เจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ
- ฐานะการเงินของลูกค้า
- ฐานะทางสังคมของลูกค้า
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า
- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1.2 ลูกค้าใหม่ที่งบการเงินของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น
ผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพ
ประการใดหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีใหม่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี เช่น ความขัดแย้งกันของผู้สอบบัญชีคนเดิมกับผู้บริหารของกิจการในเรื่องการใช้หลักการบัญชี หรือการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม โดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมารยาทหรือไม่ ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาท ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของวิชาชีพและข้อขัดแย่งเกี่ยงกับการใช้หลักการบัญชีและวิธีการตรวจสอบโดยหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะของทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีพิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้นแล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่
2.การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม[Continuing Client] ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงจากลูกค้ารายเดิมว่าจะรับงานสอบบัญชีต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจตอบปฎิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้
2.1 การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ และประเภทความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชี
2.2 ลูกค้าไม่จ่ายค่าสอบบัญชี
2.3 กิจการมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีมีการประเมินว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
ในการตอบรับงานสอบบัญชี ผู้สอบควรส่งหนังสื่อตอบรับงานสอบบัญชี[Engagement Letter] 2ฉบับเพื่อยืนยันและให้กอจการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและขอบเขตของการตรวจสอบ
- ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน
- ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อลูกค้า
- รูปแบบของรายงาน
- ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
ประโยชน์ของข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
- เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีและวิธีการปฎิบัติทางการสอบบัญชีของกิจการที่จะตรวจสอบ
- เพื่อช่วยในการระบุปัญหาและการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องของกิจการที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงสืบเนื่อง[Inherent Risk]หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
- การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ

แหล่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ
- ประสบการณ์ตรวจสอบของปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการและธุรกิจประเภทนั้น
- การปรึกษาหารือกับบุคลากรของกิจการ เช่น กรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
- การปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีอื่น ที่ปรึกษากฎหมาย และที่ปรึกษาด้านอื่นๆ
- การปรึกษาหารือกับผู้ที่มีความรู้นอกกิจการ เช่น นักเศรษฐศาสตร์และผู้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการและโรงงาน
- เอกสารที่กิจการจัดทำเช่น รายงานการประชุม เอกสารที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น
โดยการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ค้นพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ [Materiality]

โดยความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายงานทางการบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล

ขั้นตอนการวางแผนการสอบบัญชี

ซึ่งในขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชีทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะต้องมีทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาขั้นต้นนั้นนั้นก็คือลักษณะ ขอบเขต ระยะเวลาในตรวจสอบบัญชีปรากฏขึ้นในขั้นตอนของวางแผนงานสอบบัญชีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. การพิจารณางานสอบบัญชี
ขั้นตอนที่ 2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
ขั้นตอนที่ 5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และเสี่ยงสืบเนื่อง
ขั้นตอนที่ 6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
ขั้นตอนที่ 7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

การวางแผนงานสอบบัญชี

การที่วางแผนงานสอบบัญชี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตรวจสอบ ได้อย่างประสิทธิ์ภาพและประสิทธิ์ผลด้วยการพัฒนากลยุทธ์ ซึ่งจะมีการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานหรือลักษณะและเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสม
การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฎิบัติงาน วิธีการหรือลักษณะและเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้การตรวจสอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1.วัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำใน ส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

2.แผนงานสอบบัญชี
1. ลักษณะของการตรวจสอบ (Nature of Audit Test)
ว่าจะใช้วิธีการตรวจสอบแบบใดการทดสอบและการควบคุม หรือ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ และจะใช้วิธีใด เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เช่น การขอคำยืนยัน การสังเกตการณ์ การตรวจสอบเอกสาร และการปฏิบัติซ้ำ
2. ขอบเขตของการตรวจสอบ (Extene of Audit Test)
คือการเรียกตัวอย่างว่าจะเลือกขึ้นทกสอบมากน้อยเพียงใด ขนาดของตัวอย่างและเลือกรายการใดมาตรวจสอบ
3. ระยะเวลาของการตรวจ (Timing of Audit Test)
ว่า จะเข้าตรวจสอบระยะเวลาใดระหว่างปีด้วยหรือจะเข้าตรวจสอบหลังวันสิ้นงวดบัญชี แต่เพียงอย่างเดียวนั้นก็คือถ้าเข้าตรวจระหว่างปีหรือก่อนสิ้นงวดก็จะดูการ ควบคุมภายในว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่ถ้าเป็นไปตามระเบียบก็จะมีความเสี่ยง สุดแต่ถ้าเข้าตรวจสอบตอนสิ้นงวดบัญชีด้วยก็จะดูจำนวนเงินเป็นสาระสำคัญ
ระยะเวลาของการตรวจสอบ[Timing of Audit Test] ระยะเวลาของการตรวจสอบมีทั้งหมด 2 ระยะเวลาคือการเข้ามาตรวจสอบระหว่างปี [Interim Visit] หรือเข้ามาตรวจสอบหลังสิ้นงวดบัญชี [Final Visit] แต่เพียงอย่างเดียวและระยะเวลา(จำนวนชั่วโมงการทำงาน)ที่จะใช้ในแต่ละกิจการ
ตัวอย่างคือ ถ้าเข้าตรวจระหว่างปีนั้นก็คือก่อนวันที่ 31 ธ.ค.ของปีนั้นแต่ถ้าเข้าตรวจในวันสิ้นงวดบัญชีนั้นก็คือ วันที่ 31 ธ.ค.ของปีนั้น
ในการกำหนดลักษณะ ขอบเขตและระยะเวลาของการตรวจสอบจะอยู่ในช่วงของการวางแผนงานสอบบัญชีซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
ความเสี่ยงในการทำงาน ความซับซ้อนของธุรกิจและความมีสาระสำคัญในการสอบบัญชี
ระบบการควบคุมภายในของลูกค้า
ความรู้และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี
ประสิทธิภาพของการใช้วิธีการตรวจสอบประเภทต่างๆ

3.นำไปปฏิบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อจำกัด

  1. ข้อจำกัดของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของกิจการ
  2. การใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีในการเลือกวิธีการตรวจสอบ
  3. การใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของหลักฐาน
  4. การใช้ดุลยพินิจในการสรุปผลการตรวจสอบจากหลักฐานที่รวบรวมได้

สรุป

  1. สุ่มรายการ
  2. ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีแต่ละคน
  3. ความเสี่ยงให้เป็น 0 ได้

ผู้เกี่ยวข้องในการสอบบัญชี

1. ผู้ตรวจสอบ Auditor มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี
2. ผู้จัดทำ คือ ผู้บริหาร Management จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- เกิดขึ้นจริง (งบกำไรขาดทุน)/มีอยู่จริง (งบดุล)
- ข้อมูลต้องครบถ้วน
- สินทรัพย์และหนี้สิน ต้องเป็นสิทธิ/ภาระผูกพันของกิจการ
- ตีราคา (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น) และวัดมูลค่า (รายได้และค่าใช้จ่าย) อย่างถูกต้อง
- แสดงรายการโดยจัดเป็นหมวดหมู่และเปิดเผยข้อมูล
3. ผู้ใช้งบการเงิน User ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ

คุณสมบัติผู้สอบบัญชี

  1. ความซื่อสัตย์และศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
  2. มนุษยสัมพันธ์และการเป็นผู้นำ
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลและการสอบสวนข้อเท็จจริง
  4. การฝึกอบรม
  5. การเขียนรายงาน
  6. ภาษีอากร
  7. กฎหมายธุรกิจ
  8. เศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ
  9. การจัดวางระบบงานและการประเมินผล
  10. ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน
  11. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป

สรุป

  1. Ethics = การมีจริยธรรม
  2. Standard = มีมาตรฐาน
  3. Skepticism = ความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่
  • เพื่อที่จะให้ผู้สอบบัญชีได้มาซึ่งหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฎในงบการเงิน
  • เพื่อให้ได้ผลสรุปที่อาจใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินที่ตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่ควรมีในสาระสำคัญและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป GAAP หรือไม่

การสอบบัญชี Auditing

การสอบบัญชี (Auditing) เป็นกระบวนการอย่างมีระบบเพื่อทำการรวบรวมและประเมินหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและรายงานผลให้ผู้ใช้งบการเงินทราบ
การสอบบัญชี (Auditing) การรวบรวมหลักฐานที่มีในกิจการเพื่อมาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์มาตราฐานการบัญชีที่กำหนดเพื่อแสดงรายงานให้กับผู้ใช้งบการเงิน
สรุป
1.รวบรวมหลักฐาน
2.เปรียบเทียบกับมาตรฐานการบัญชี
3.แสดงรายงานกับผู้ใช้