วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนงานตรวจสอบขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
การพิจารณาเลือกรับงานการสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรือาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานสอบบัญชีได้
การรับงานสอบบัญชี จำแนกออกได้ 2 กรณี ดังนี้
1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่
1.1 ลูกค้าใหม่ที่จัดตั้งกิจการใหม่
ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชี
สำหรับลูกค้ารายใหม่ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้น เนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นไว้เพื่อประเมินความเสี่ยงเช่น
- ประเภทธุรกิจของลูกค้า
- ผู้เจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ
- ฐานะการเงินของลูกค้า
- ฐานะทางสังคมของลูกค้า
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า
- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1.2 ลูกค้าใหม่ที่งบการเงินของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น
ผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพ
ประการใดหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีใหม่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี เช่น ความขัดแย้งกันของผู้สอบบัญชีคนเดิมกับผู้บริหารของกิจการในเรื่องการใช้หลักการบัญชี หรือการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม โดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมารยาทหรือไม่ ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาท ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของวิชาชีพและข้อขัดแย่งเกี่ยงกับการใช้หลักการบัญชีและวิธีการตรวจสอบโดยหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะของทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีพิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้นแล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่
2.การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม[Continuing Client] ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงจากลูกค้ารายเดิมว่าจะรับงานสอบบัญชีต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจตอบปฎิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้
2.1 การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ และประเภทความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชี
2.2 ลูกค้าไม่จ่ายค่าสอบบัญชี
2.3 กิจการมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีมีการประเมินว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
ในการตอบรับงานสอบบัญชี ผู้สอบควรส่งหนังสื่อตอบรับงานสอบบัญชี[Engagement Letter] 2ฉบับเพื่อยืนยันและให้กอจการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและขอบเขตของการตรวจสอบ
- ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน
- ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อลูกค้า
- รูปแบบของรายงาน
- ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
ประโยชน์ของข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
- เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีและวิธีการปฎิบัติทางการสอบบัญชีของกิจการที่จะตรวจสอบ
- เพื่อช่วยในการระบุปัญหาและการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องของกิจการที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงสืบเนื่อง[Inherent Risk]หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
- การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ

แหล่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ
- ประสบการณ์ตรวจสอบของปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการและธุรกิจประเภทนั้น
- การปรึกษาหารือกับบุคลากรของกิจการ เช่น กรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
- การปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีอื่น ที่ปรึกษากฎหมาย และที่ปรึกษาด้านอื่นๆ
- การปรึกษาหารือกับผู้ที่มีความรู้นอกกิจการ เช่น นักเศรษฐศาสตร์และผู้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการและโรงงาน
- เอกสารที่กิจการจัดทำเช่น รายงานการประชุม เอกสารที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น
โดยการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ค้นพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ [Materiality]

โดยความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายงานทางการบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล

3 ความคิดเห็น:

  1. ภาพรวมแล้วสรุปได้ดีครับ แต่มีประเด็นที่ต้องปรับปรุงนิดหน่อยนะครับ
    -ควรเว้นช่องว่างระหว่างย่อหน้านิดหนึ่งนะครับ จะได้อ่านง่ายๆ
    -ควรรวมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกันนะครับ จะได้ดูเป็นหมวดหมู่นะครับ

    แล้วอย่าลืมลงรูปสมาชิกในกลุ่มด้วยนะครับท่าน

    ตอบลบ
  2. ขอ reference บดความนี้ได้ไหมค่ะ??

    ตอบลบ