วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการ (WORKING PAPER)

ความหมาย

  • กระดาษทำการเป็นเอกสารที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นโดยใช้วิธีการตรวจสอบ การรวบรวม บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสอบบัญชี
  • กระดาษทำการควรแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นในรายการการสอบบัญชีตรงกับหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมมา

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อให้ผู้สอบบัญชีใช้เป็นหลักฐานประกอบการแสดงความเห็นของตน ในการจัดทำรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องขอเอกสารหลักฐาน สมุดบัญชีจากกิจการมาตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบเสร็จบรรดาสมุดบัญชี เอกสารก็ต้องคืนให้ผู้รับผิดชอบไป ดังนั้น กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้น จะใช้เป็นประโยชน์ในภายหลัง
    2. ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อ เพราะว่าบางครั้งเกิดมีปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ เช่น สรรพากรกล่าวหาว่ารับรองงบการเงินไม่ถูกต้องทำให้ลูกค้าเสียภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ก็สามารถนำกระดาษทำการไปชี้แจงโต้ข้อกล่าวหานั้นได้ รวมทั้งสามารถใช้แสดงในชั้นศาลได้อีกด้วย
    3. สามารถใช้ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในกระดาษทำการเพื่อการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการบัญชี ปัญหาการควบคุมภายในหรือปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลทางบัญชี
    4. ช่วยให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะกระดาษทำการเป็นที่รวบของทุกอย่างในการตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการที่ดี จึงช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้น

  • กระดาษทำการที่ดี ควรแสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติของลูกค้า ตลอดจนรูปแบบขององค์การ และเอกสารสัญญาที่สำคัญ ๆ วิธีการตรวจสอบที่ใช้ ผลที่ได้จากสิ่งที่ผู้สอบบัญชีทดสอบ สิ่งที่ผู้สอบบัญชีตรวจพบ ข้อสรุปตามความเห็นของผู้สอบบัญชี

สรุปวัตถุประสงค์

  1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
  2. เพื่อหาข้อสรุปและออกรายงานการสอบบัญชี
  3. เพื่อเป็นสิ่งช่วยในการควบคุมและสอบทานงานการปฏิบัติงานการสอบบัญชี
  4. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบในงวดถัดไป
  5. เพื่อเป็นหลักฐานที่ใช้สนับสนุนความเห็นตามรายงานของผู้สอบบัญชี
  6. เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี

รูปแบบและเนื้อหาของกระดาษทำการ

  • ให้ข้อมูลสมบูรณ์ และถูกต้อง
  • ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย กระชับ ไม่คลุมเครือ
  • สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการอ่าน
  • ให้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ของกระดาษทำการนั้น ๆ
  • มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่ง
  • รูปแบบเป็นมาตรฐาน ตราบเท่าที่จะกระทำได้
  • รูปแบบเหมาะสมกับการให้ข้อมูล
  • รูปแบบสะดวก และเอื้ออำนวยต่อการสอบทานตามลำดับชั้นขึ้นไป

องค์ประกอบของกระดาษทำการ

ท่อนบนของกระดาษทำการ

  • ชื่อสำนักงานสอบบัญชี
  • ชื่อกิจการที่ตรวจสอบ
  • งวดบัญชี (ปี หรือ ไตรมาส) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน
  • ชื่อบัญชี (องค์ประกอบของงบการเงิน) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน

ท่อนกลางของกระดาษทำการ

  • วัตถุประสงค์ของกระดาษทำการแผ่นนี้ (วัตถุประสงค์การตรวจสอบ)
  • วิธีการตรวจสอบที่ใช้
  • รายละเอียดของการตรวจสอบ (เป็นคำบรรยาย / เป็นตาราง / เป็นการวิเคราะห์)
  • แหล่งที่มาของข้อมูลหรือคำอธิบาย
  • กระดาษทำการอื่นที่อ้างอิงซึ่งกันและกัน
  • เครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบ พร้อมคำอธิบายอย่างย่อ
  • สรุปผล และข้อสังเกต จากวิธีการตรวจสอบนี้

ท่อนล่างของกระดาษทำการ

  • ผู้จัดทำกระดาษทำการ
  • วันที่ (วันที่เสร็จงาน) จัดทำกระดาษทำการผู้สอบทานกระดาษทำการ และวันที่ทำการสอบทาน

สรุป

  1. หัวกระดาษทำการ
  2. ดัชนีกระดาษทำการ
  3. เนื้อหาของการตรวจสอบ หรือ หลักฐานในการตรวจสอบ
  4. ข้อสรุปจากการตรวจสอบ
  5. ขอบเขตของการตรวจสอบ
  6. ผู้จัดทำ / ผู้สอบทาน พร้อมวันที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น