วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการ (WORKING PAPER)

ความหมาย

  • กระดาษทำการเป็นเอกสารที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นโดยใช้วิธีการตรวจสอบ การรวบรวม บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสอบบัญชี
  • กระดาษทำการควรแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นในรายการการสอบบัญชีตรงกับหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมมา

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อให้ผู้สอบบัญชีใช้เป็นหลักฐานประกอบการแสดงความเห็นของตน ในการจัดทำรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องขอเอกสารหลักฐาน สมุดบัญชีจากกิจการมาตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบเสร็จบรรดาสมุดบัญชี เอกสารก็ต้องคืนให้ผู้รับผิดชอบไป ดังนั้น กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้น จะใช้เป็นประโยชน์ในภายหลัง
    2. ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อ เพราะว่าบางครั้งเกิดมีปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ เช่น สรรพากรกล่าวหาว่ารับรองงบการเงินไม่ถูกต้องทำให้ลูกค้าเสียภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ก็สามารถนำกระดาษทำการไปชี้แจงโต้ข้อกล่าวหานั้นได้ รวมทั้งสามารถใช้แสดงในชั้นศาลได้อีกด้วย
    3. สามารถใช้ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในกระดาษทำการเพื่อการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการบัญชี ปัญหาการควบคุมภายในหรือปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลทางบัญชี
    4. ช่วยให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะกระดาษทำการเป็นที่รวบของทุกอย่างในการตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการที่ดี จึงช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้น

  • กระดาษทำการที่ดี ควรแสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติของลูกค้า ตลอดจนรูปแบบขององค์การ และเอกสารสัญญาที่สำคัญ ๆ วิธีการตรวจสอบที่ใช้ ผลที่ได้จากสิ่งที่ผู้สอบบัญชีทดสอบ สิ่งที่ผู้สอบบัญชีตรวจพบ ข้อสรุปตามความเห็นของผู้สอบบัญชี

สรุปวัตถุประสงค์

  1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
  2. เพื่อหาข้อสรุปและออกรายงานการสอบบัญชี
  3. เพื่อเป็นสิ่งช่วยในการควบคุมและสอบทานงานการปฏิบัติงานการสอบบัญชี
  4. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบในงวดถัดไป
  5. เพื่อเป็นหลักฐานที่ใช้สนับสนุนความเห็นตามรายงานของผู้สอบบัญชี
  6. เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี

รูปแบบและเนื้อหาของกระดาษทำการ

  • ให้ข้อมูลสมบูรณ์ และถูกต้อง
  • ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย กระชับ ไม่คลุมเครือ
  • สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการอ่าน
  • ให้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ของกระดาษทำการนั้น ๆ
  • มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่ง
  • รูปแบบเป็นมาตรฐาน ตราบเท่าที่จะกระทำได้
  • รูปแบบเหมาะสมกับการให้ข้อมูล
  • รูปแบบสะดวก และเอื้ออำนวยต่อการสอบทานตามลำดับชั้นขึ้นไป

องค์ประกอบของกระดาษทำการ

ท่อนบนของกระดาษทำการ

  • ชื่อสำนักงานสอบบัญชี
  • ชื่อกิจการที่ตรวจสอบ
  • งวดบัญชี (ปี หรือ ไตรมาส) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน
  • ชื่อบัญชี (องค์ประกอบของงบการเงิน) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน

ท่อนกลางของกระดาษทำการ

  • วัตถุประสงค์ของกระดาษทำการแผ่นนี้ (วัตถุประสงค์การตรวจสอบ)
  • วิธีการตรวจสอบที่ใช้
  • รายละเอียดของการตรวจสอบ (เป็นคำบรรยาย / เป็นตาราง / เป็นการวิเคราะห์)
  • แหล่งที่มาของข้อมูลหรือคำอธิบาย
  • กระดาษทำการอื่นที่อ้างอิงซึ่งกันและกัน
  • เครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบ พร้อมคำอธิบายอย่างย่อ
  • สรุปผล และข้อสังเกต จากวิธีการตรวจสอบนี้

ท่อนล่างของกระดาษทำการ

  • ผู้จัดทำกระดาษทำการ
  • วันที่ (วันที่เสร็จงาน) จัดทำกระดาษทำการผู้สอบทานกระดาษทำการ และวันที่ทำการสอบทาน

สรุป

  1. หัวกระดาษทำการ
  2. ดัชนีกระดาษทำการ
  3. เนื้อหาของการตรวจสอบ หรือ หลักฐานในการตรวจสอบ
  4. ข้อสรุปจากการตรวจสอบ
  5. ขอบเขตของการตรวจสอบ
  6. ผู้จัดทำ / ผู้สอบทาน พร้อมวันที่

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน




ความเสี่ยงในการสอบบัญชี
หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเสี่ยงในการสอบบัญชี ประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท ดังนี้
  • 1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง
    2. ความเสี่ยงจากการควบคุม
    3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
ความเสี่ยงสืบเนื่อง
หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชี หรือประเภทของรายการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ซึ่งอาจมีสาระสำคัญในแต่ละรายการ โดยไม่คำนึงถึงการควบคุมภายในที่อาจมีอยู่ซึ่งอาจป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
ผู้สอบบัญชีจะใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่อง ใน 2 ระดับใหญ่ ๆ ดังนี้
  • 1. ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
    2. ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ

ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
ปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่
- ลักษณะธุรกิจของกิจการ
- ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์และความรู้ของผู้บริหาร และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในระหว่างงวดการตรวจสอบ
- แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร
- ปัจจัยซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินงานอยู่

ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ
- ความซับซ้อนของรายการ และเหตุการณ์อื่นที่ต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ หรือบัญชีที่ต้องอาศัยการประมาณการและดุลยพินิจในการกำหนดยอดคงเหลือของบัญชี
- ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก
- รายการผิดปกติและซับซ้อน รายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติโดยเฉพาะรายการที่เกิดขึ้น ณ วันสิ้นงวดหรือใกล้วันสิ้นงวด
ความเสี่ยงจากการควบคุม หมายถึง ความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบการควบคุมภายในไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา

ระบบการควบคุมภายในที่ดี ควรเป็นระบบที่สามารถป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงสืบเนื่องได้

ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

หมายถึง ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้สอบบัญชีใช้จะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในยอดคงเหลือของบัญชี เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ความเสี่ยงจาการเลือกตัวอย่าง
- วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ
- มีข้อบกพร่องในการปฎิบัติงานตรวจสอบ หรือสรุปความเห็นผิดพลาดเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี

การควบคุมภายใน

หมายถึง นโยบาย วิธีการปฎิบัติหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งผู้บริหารของกิจการกำหนดขึ้น เพื่อช่วยให้กิจการบรรลุถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ

องค์ประกอบของการควบคุมภายในตามแนวคิดของโคโซ่ (coso) อาจแบ่งเป็น 5 อย่าง ดังนี้

  • 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม
    2. การประเมินความเสี่ยง
    3. กิจกรรมการควบคุม
    4. สารสนเทศและการสื่อสาร
    5. การติดตามผล

การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน

จะช่วยให้ผู้สอบบัญชีได้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการทำงานของระบบนั้น ผู้สอบบัญชีมักจะประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของการ ควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบดังที่ได้กล่าวมา ผู้สอบบัญชีควรได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอในเรื่องต่อไปนี้

- ประเภทของรายการที่สำคัญในการดำเนินงานของกิจการ
- การเกิดขึ้นของรายการ
- บันทึกทางการบัญชีและเอกสารประกอบรายการที่สำคัญ
- บัญชีที่สำคัญในงบการเงิน
- กระบวนการของการบัญชีและรายงานทางการเงิน จากจุดเริ่มต้นของรายการและเหตุการณ์ที่สำคัญ

การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม

ข้อมูลที่รวบรวมจากการทำความเข้าใจใจระบบบัญชีและรบบการควบคุมภายใน สามารถช่วยผู้สอบบัญชีในการวางแผนการตรวจสอบ ดังนี้
- ระบุถึงรายการที่อาจมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญได้
- ช่วยในการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมและผู้สอบบัญชีจะใช้ผลจากการประเมินความเสี่ยงในการกำหนดลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตของวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่จำเป็น

สรุป หากผลการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมมีระดับต่ำ (หมายถึงระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผล) ผู้สอบบัญชี อาจใช้วิธีการทดสอบการควบคุมโดยการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีมาสนับสนุนเพื่อให้แน่ใจว่า ระบบบัญชีแบระบบการควบคุมภายในมรการออกแบบอย่างเหมาะสม

วิธีการทดสอบการควบคุม

  • 1. การตรวจสอบเอกสารประกอบรายการ
    2. การสอบถามบุคลากรเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
    3. การสังเกตการณ์เกี่ยวกับการควบคุมภายใน
    4. การปฎิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน

แผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

ความหมายของแผนการสอบบัญชีโดยรวม หมายถึง แผนกลยุทธ์ของผู้สอบบัญชี ซี่งเป็นผลมาจากการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ร่วมกับความเสี่ยง
ข้อควรพิจารณาในการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม
- ขอบเขตของงานสอบบัญชี
- ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
- ความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน
- ความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ
- ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี
- การประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทานงาน
- เรื่องอื่น ๆ

แนวการสอบบัญชี หมายถึง การดาษทำการของผู้สอบบัญชีซึ่งแสดงถึงลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบ
ประโยชน์ของแนวการสอบบัญชี
- เป็นคำสั่งงานแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
- ใช้ในการควบคุมและบันทึกการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
การจัดทำแนวการสอบบัญชี
วิธีการตรวจสอบ
1. การทดสอบการควบคุม
- การตรวจสอบเอกสารประกอบรายการหรือเหตุการณ์อื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีว่าการควบคุมภายในได้มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
- การสอบถามและสังเกตการณ์เกี่ยวกับการควบคุมภายใน เช่น การสังเกตการณ์การปฏิบัติงาน
- การปฏิบัติซ้ำเกี่ยวกับควบคุมภายใน
2. การตรวจสอบเนื้อหาสาระ มี 2 ประเภท
- การทดสอบรายละเอียดของรายการและยอดคงเหลือ
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
- ขอบเขตการตรวจสอบ
- เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้
- เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการที่อ้างอิง
- ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและผู้สอบทานและวันที่ตรวจสอบและสอบทานเสร็จสิ้น

หลักฐานการสอบบัญชีและการตรวจสอบ

หลักฐานการสอบบัญชี(Audit Evidence) หมายถึง ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่ผู้สอบบัญชีได้รับหรือรวบรวมจากการใช้วิธีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้สนับสนุนข้อสรุปผลการตรวจสอบ
ประเภทของหลักฐานการสอบบัญชีตามเกณฑ์วิธีการตรวจสอบที่ใช้มีดังนี้
1. หลักฐานจากการตรวจ (Inspection Evidence) หลักฐานที่ได้มาโดยใช้วิธีการตรวจสอบ
- หลักฐานจากการตรวจสอบบันทึกทางบัญชี
- หลักฐานจาการตรวจทางกายภาพของสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Evidence)หลักฐานที่ได้จากการตรวจนับ(Counting)
2. หลักฐานจากการสังเกตการณ์(Observation Evidence)
คุณลักษณะของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเพียงพอของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเกี่ยวพันของหลักฐานการสอบบัญชี
- แหล่งที่มาของหลักฐานการสอบบัญชี
- เวลาตรวจสอบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี
- วิธีการตรวจสอบ
- ขนาดของตัวอย่าง
- รายการที่เลือกมาตรวจสอบ
- ช่วงเวลาที่ตรวจสอบ
ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์การตรวจสอบกับหลักฐานการสอบบัญชี
การตรวจสอบ การทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
- ความมีอยู่จริง (Existence)
- สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations)
- เกิดขึ้นจริง (Occurrence)
- ความครบถ้วน (Completeness)
- การแสดงมูลค่าหรือการตีราคา (Valuation)
- การวัดมูลค่า (Measurement)
- การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล(Presentation and Disclosure)

วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
1.การตรวจ อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย การตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Examination)และ การตรวจบันทึกทางการบัญชีและเอกสาร(Documentation)


หลักฐานการสอบบัญชีในรูปของเอกสารอาจแบ่งเป็น
1.1 เอกสารภายใน (Internal Document)หมายถึง เอกสารมีการจัดทำ ใช้และเก็บรักษาไว้โดยกิจการ เช่น บัตรลงเวลาการทำงานของพนักงานใบรับสินค้า เป็นต้น
1.2 เอกสารภายนอก (External Document)หมายถึง เอกสารที่บุคคลภายนอกจัดทำขึ้น แต่เก็บรักษาไว้โดยกิจการ

2.การสังเกตการณ์ (Observation) หมายถึง การดูขั้นตอนหรือวิธีการปฎิบัติงานโดยบุคคลอื่นซึ่งอาจจะไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้ตรวจสอบ
3.การสอบถาม (Inquiry ) หมายถึง การหาข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ อาจเป็นการสอบถามด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
4.การขอคำยืนยัน (Confirmation) หมายถึง การหาคำตอบจากข้อสอบถามเพื่อยืนยันข้อมูลที่มีอยู่ในบันทึกทางการบัญชี
- การส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดบัญชีลูกหนี้ จากลูกหนี้ของกิจการ
- การขอข้อมูลจากธนาคาร
- การขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีความฟ้องร้องจากทนายความของกิจการ
- การส่งหนังขอคำยืนยันยอดบัญชีสินค้าฝากขายกับผู้รับฝากขาย
5.การคำนวณ (Computation) หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขในเชิงคำนวณในเอกสาร เบื้องต้น และยันทึกทางการบัญชี หรือการทดสอบการคำนวณโดยอิสระของผู้สอบบัญชี
6.การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure) หมายถึง การวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มที่สำคัญ รวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามความคาดหมายหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นหรือไม่

ประเภทของการตรวจสอบ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. การทดสอบควบคุม
2.การตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
- การทดสอบรายละเอียดของรายการแลยอดคงเหลือ
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การทดสอบการควบคุม (Test of control)
การทดสอบการควบคุม ประกอบด้วย วิธีการตรวจสอบต่อไปนี้
- การทดสอบรายการบัญชี (Test of Transaction)
- การสอบถามและการสังเกตการณ์เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
- การปฎิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
- การตรวจสอบเนื้อหาสาระ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการวางแผนงานสอบบัญชี

- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
- ช่วยให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบเป็นไปอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้เกิดความรวมมือกับลูกค้าและป้องกันการเข้าใจผิด โดยทำความตกลงกำหนดการต่างๆล่วงหน้า และยืนยันกำหนดการดังกล่าว
- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจได้ว่า ได้มีการพิจารณาเรื่องสำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถระบุและจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
- ช่วยให้มีการมอบหมายงานแก่ผู้ช่วยอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้มีการประสานงานกับผู้สอบบัญชีอื่นและผู้เชี่ยวชาญ

การวางแผนงานตรวจสอบขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
การพิจารณาเลือกรับงานการสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรือาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานสอบบัญชีได้
การรับงานสอบบัญชี จำแนกออกได้ 2 กรณี ดังนี้
1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่
1.1 ลูกค้าใหม่ที่จัดตั้งกิจการใหม่
ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชี
สำหรับลูกค้ารายใหม่ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้น เนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นไว้เพื่อประเมินความเสี่ยงเช่น
- ประเภทธุรกิจของลูกค้า
- ผู้เจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ
- ฐานะการเงินของลูกค้า
- ฐานะทางสังคมของลูกค้า
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า
- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1.2 ลูกค้าใหม่ที่งบการเงินของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น
ผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพ
ประการใดหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีใหม่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี เช่น ความขัดแย้งกันของผู้สอบบัญชีคนเดิมกับผู้บริหารของกิจการในเรื่องการใช้หลักการบัญชี หรือการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม โดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมารยาทหรือไม่ ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาท ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของวิชาชีพและข้อขัดแย่งเกี่ยงกับการใช้หลักการบัญชีและวิธีการตรวจสอบโดยหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะของทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีพิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้นแล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่
2.การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม[Continuing Client] ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงจากลูกค้ารายเดิมว่าจะรับงานสอบบัญชีต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจตอบปฎิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้
2.1 การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ และประเภทความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชี
2.2 ลูกค้าไม่จ่ายค่าสอบบัญชี
2.3 กิจการมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีมีการประเมินว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
ในการตอบรับงานสอบบัญชี ผู้สอบควรส่งหนังสื่อตอบรับงานสอบบัญชี[Engagement Letter] 2ฉบับเพื่อยืนยันและให้กอจการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและขอบเขตของการตรวจสอบ
- ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน
- ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อลูกค้า
- รูปแบบของรายงาน
- ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
ประโยชน์ของข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
- เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีและวิธีการปฎิบัติทางการสอบบัญชีของกิจการที่จะตรวจสอบ
- เพื่อช่วยในการระบุปัญหาและการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องของกิจการที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงสืบเนื่อง[Inherent Risk]หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
- การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ

แหล่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ
- ประสบการณ์ตรวจสอบของปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการและธุรกิจประเภทนั้น
- การปรึกษาหารือกับบุคลากรของกิจการ เช่น กรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
- การปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีอื่น ที่ปรึกษากฎหมาย และที่ปรึกษาด้านอื่นๆ
- การปรึกษาหารือกับผู้ที่มีความรู้นอกกิจการ เช่น นักเศรษฐศาสตร์และผู้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการและโรงงาน
- เอกสารที่กิจการจัดทำเช่น รายงานการประชุม เอกสารที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น
โดยการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ค้นพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ [Materiality]

โดยความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายงานทางการบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล

ขั้นตอนการวางแผนการสอบบัญชี

ซึ่งในขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชีทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะต้องมีทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาขั้นต้นนั้นนั้นก็คือลักษณะ ขอบเขต ระยะเวลาในตรวจสอบบัญชีปรากฏขึ้นในขั้นตอนของวางแผนงานสอบบัญชีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. การพิจารณางานสอบบัญชี
ขั้นตอนที่ 2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
ขั้นตอนที่ 5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และเสี่ยงสืบเนื่อง
ขั้นตอนที่ 6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
ขั้นตอนที่ 7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี