วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระดาษทำการ (WORKING PAPER)

ความหมาย

  • กระดาษทำการเป็นเอกสารที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้นโดยใช้วิธีการตรวจสอบ การรวบรวม บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสอบบัญชี
  • กระดาษทำการควรแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นในรายการการสอบบัญชีตรงกับหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมมา

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อให้ผู้สอบบัญชีใช้เป็นหลักฐานประกอบการแสดงความเห็นของตน ในการจัดทำรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องขอเอกสารหลักฐาน สมุดบัญชีจากกิจการมาตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบเสร็จบรรดาสมุดบัญชี เอกสารก็ต้องคืนให้ผู้รับผิดชอบไป ดังนั้น กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีจัดทำขึ้น จะใช้เป็นประโยชน์ในภายหลัง
    2. ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อ เพราะว่าบางครั้งเกิดมีปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ เช่น สรรพากรกล่าวหาว่ารับรองงบการเงินไม่ถูกต้องทำให้ลูกค้าเสียภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ก็สามารถนำกระดาษทำการไปชี้แจงโต้ข้อกล่าวหานั้นได้ รวมทั้งสามารถใช้แสดงในชั้นศาลได้อีกด้วย
    3. สามารถใช้ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในกระดาษทำการเพื่อการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการบัญชี ปัญหาการควบคุมภายในหรือปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลทางบัญชี
    4. ช่วยให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะกระดาษทำการเป็นที่รวบของทุกอย่างในการตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการที่ดี จึงช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้น

  • กระดาษทำการที่ดี ควรแสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติของลูกค้า ตลอดจนรูปแบบขององค์การ และเอกสารสัญญาที่สำคัญ ๆ วิธีการตรวจสอบที่ใช้ ผลที่ได้จากสิ่งที่ผู้สอบบัญชีทดสอบ สิ่งที่ผู้สอบบัญชีตรวจพบ ข้อสรุปตามความเห็นของผู้สอบบัญชี

สรุปวัตถุประสงค์

  1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
  2. เพื่อหาข้อสรุปและออกรายงานการสอบบัญชี
  3. เพื่อเป็นสิ่งช่วยในการควบคุมและสอบทานงานการปฏิบัติงานการสอบบัญชี
  4. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบในงวดถัดไป
  5. เพื่อเป็นหลักฐานที่ใช้สนับสนุนความเห็นตามรายงานของผู้สอบบัญชี
  6. เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี

รูปแบบและเนื้อหาของกระดาษทำการ

  • ให้ข้อมูลสมบูรณ์ และถูกต้อง
  • ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย กระชับ ไม่คลุมเครือ
  • สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการอ่าน
  • ให้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ของกระดาษทำการนั้น ๆ
  • มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่ง
  • รูปแบบเป็นมาตรฐาน ตราบเท่าที่จะกระทำได้
  • รูปแบบเหมาะสมกับการให้ข้อมูล
  • รูปแบบสะดวก และเอื้ออำนวยต่อการสอบทานตามลำดับชั้นขึ้นไป

องค์ประกอบของกระดาษทำการ

ท่อนบนของกระดาษทำการ

  • ชื่อสำนักงานสอบบัญชี
  • ชื่อกิจการที่ตรวจสอบ
  • งวดบัญชี (ปี หรือ ไตรมาส) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน
  • ชื่อบัญชี (องค์ประกอบของงบการเงิน) ที่ตรวจสอบ / สอบทาน

ท่อนกลางของกระดาษทำการ

  • วัตถุประสงค์ของกระดาษทำการแผ่นนี้ (วัตถุประสงค์การตรวจสอบ)
  • วิธีการตรวจสอบที่ใช้
  • รายละเอียดของการตรวจสอบ (เป็นคำบรรยาย / เป็นตาราง / เป็นการวิเคราะห์)
  • แหล่งที่มาของข้อมูลหรือคำอธิบาย
  • กระดาษทำการอื่นที่อ้างอิงซึ่งกันและกัน
  • เครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจสอบ พร้อมคำอธิบายอย่างย่อ
  • สรุปผล และข้อสังเกต จากวิธีการตรวจสอบนี้

ท่อนล่างของกระดาษทำการ

  • ผู้จัดทำกระดาษทำการ
  • วันที่ (วันที่เสร็จงาน) จัดทำกระดาษทำการผู้สอบทานกระดาษทำการ และวันที่ทำการสอบทาน

สรุป

  1. หัวกระดาษทำการ
  2. ดัชนีกระดาษทำการ
  3. เนื้อหาของการตรวจสอบ หรือ หลักฐานในการตรวจสอบ
  4. ข้อสรุปจากการตรวจสอบ
  5. ขอบเขตของการตรวจสอบ
  6. ผู้จัดทำ / ผู้สอบทาน พร้อมวันที่

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน




ความเสี่ยงในการสอบบัญชี
หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเสี่ยงในการสอบบัญชี ประกอบด้วยความเสี่ยงย่อย 3 ประเภท ดังนี้
  • 1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง
    2. ความเสี่ยงจากการควบคุม
    3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
ความเสี่ยงสืบเนื่อง
หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชี หรือประเภทของรายการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ซึ่งอาจมีสาระสำคัญในแต่ละรายการ โดยไม่คำนึงถึงการควบคุมภายในที่อาจมีอยู่ซึ่งอาจป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
ผู้สอบบัญชีจะใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่อง ใน 2 ระดับใหญ่ ๆ ดังนี้
  • 1. ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
    2. ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ

ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน
ปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่
- ลักษณะธุรกิจของกิจการ
- ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์และความรู้ของผู้บริหาร และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในระหว่างงวดการตรวจสอบ
- แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร
- ปัจจัยซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินงานอยู่

ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ
- ความซับซ้อนของรายการ และเหตุการณ์อื่นที่ต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ หรือบัญชีที่ต้องอาศัยการประมาณการและดุลยพินิจในการกำหนดยอดคงเหลือของบัญชี
- ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก
- รายการผิดปกติและซับซ้อน รายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติโดยเฉพาะรายการที่เกิดขึ้น ณ วันสิ้นงวดหรือใกล้วันสิ้นงวด
ความเสี่ยงจากการควบคุม หมายถึง ความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบการควบคุมภายในไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา

ระบบการควบคุมภายในที่ดี ควรเป็นระบบที่สามารถป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงสืบเนื่องได้

ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

หมายถึง ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้สอบบัญชีใช้จะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในยอดคงเหลือของบัญชี เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ความเสี่ยงจาการเลือกตัวอย่าง
- วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ
- มีข้อบกพร่องในการปฎิบัติงานตรวจสอบ หรือสรุปความเห็นผิดพลาดเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี

การควบคุมภายใน

หมายถึง นโยบาย วิธีการปฎิบัติหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งผู้บริหารของกิจการกำหนดขึ้น เพื่อช่วยให้กิจการบรรลุถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ

องค์ประกอบของการควบคุมภายในตามแนวคิดของโคโซ่ (coso) อาจแบ่งเป็น 5 อย่าง ดังนี้

  • 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม
    2. การประเมินความเสี่ยง
    3. กิจกรรมการควบคุม
    4. สารสนเทศและการสื่อสาร
    5. การติดตามผล

การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน

จะช่วยให้ผู้สอบบัญชีได้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการทำงานของระบบนั้น ผู้สอบบัญชีมักจะประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของการ ควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบดังที่ได้กล่าวมา ผู้สอบบัญชีควรได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอในเรื่องต่อไปนี้

- ประเภทของรายการที่สำคัญในการดำเนินงานของกิจการ
- การเกิดขึ้นของรายการ
- บันทึกทางการบัญชีและเอกสารประกอบรายการที่สำคัญ
- บัญชีที่สำคัญในงบการเงิน
- กระบวนการของการบัญชีและรายงานทางการเงิน จากจุดเริ่มต้นของรายการและเหตุการณ์ที่สำคัญ

การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม

ข้อมูลที่รวบรวมจากการทำความเข้าใจใจระบบบัญชีและรบบการควบคุมภายใน สามารถช่วยผู้สอบบัญชีในการวางแผนการตรวจสอบ ดังนี้
- ระบุถึงรายการที่อาจมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญได้
- ช่วยในการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมและผู้สอบบัญชีจะใช้ผลจากการประเมินความเสี่ยงในการกำหนดลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตของวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่จำเป็น

สรุป หากผลการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมมีระดับต่ำ (หมายถึงระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผล) ผู้สอบบัญชี อาจใช้วิธีการทดสอบการควบคุมโดยการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีมาสนับสนุนเพื่อให้แน่ใจว่า ระบบบัญชีแบระบบการควบคุมภายในมรการออกแบบอย่างเหมาะสม

วิธีการทดสอบการควบคุม

  • 1. การตรวจสอบเอกสารประกอบรายการ
    2. การสอบถามบุคลากรเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
    3. การสังเกตการณ์เกี่ยวกับการควบคุมภายใน
    4. การปฎิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน

แผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

ความหมายของแผนการสอบบัญชีโดยรวม หมายถึง แผนกลยุทธ์ของผู้สอบบัญชี ซี่งเป็นผลมาจากการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ร่วมกับความเสี่ยง
ข้อควรพิจารณาในการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม
- ขอบเขตของงานสอบบัญชี
- ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
- ความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน
- ความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ
- ลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี
- การประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทานงาน
- เรื่องอื่น ๆ

แนวการสอบบัญชี หมายถึง การดาษทำการของผู้สอบบัญชีซึ่งแสดงถึงลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบ
ประโยชน์ของแนวการสอบบัญชี
- เป็นคำสั่งงานแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี
- ใช้ในการควบคุมและบันทึกการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
การจัดทำแนวการสอบบัญชี
วิธีการตรวจสอบ
1. การทดสอบการควบคุม
- การตรวจสอบเอกสารประกอบรายการหรือเหตุการณ์อื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีว่าการควบคุมภายในได้มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
- การสอบถามและสังเกตการณ์เกี่ยวกับการควบคุมภายใน เช่น การสังเกตการณ์การปฏิบัติงาน
- การปฏิบัติซ้ำเกี่ยวกับควบคุมภายใน
2. การตรวจสอบเนื้อหาสาระ มี 2 ประเภท
- การทดสอบรายละเอียดของรายการและยอดคงเหลือ
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
- ขอบเขตการตรวจสอบ
- เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้
- เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการที่อ้างอิง
- ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและผู้สอบทานและวันที่ตรวจสอบและสอบทานเสร็จสิ้น

หลักฐานการสอบบัญชีและการตรวจสอบ

หลักฐานการสอบบัญชี(Audit Evidence) หมายถึง ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่ผู้สอบบัญชีได้รับหรือรวบรวมจากการใช้วิธีการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้สนับสนุนข้อสรุปผลการตรวจสอบ
ประเภทของหลักฐานการสอบบัญชีตามเกณฑ์วิธีการตรวจสอบที่ใช้มีดังนี้
1. หลักฐานจากการตรวจ (Inspection Evidence) หลักฐานที่ได้มาโดยใช้วิธีการตรวจสอบ
- หลักฐานจากการตรวจสอบบันทึกทางบัญชี
- หลักฐานจาการตรวจทางกายภาพของสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Evidence)หลักฐานที่ได้จากการตรวจนับ(Counting)
2. หลักฐานจากการสังเกตการณ์(Observation Evidence)
คุณลักษณะของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเพียงพอของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชี
- ความเกี่ยวพันของหลักฐานการสอบบัญชี
- แหล่งที่มาของหลักฐานการสอบบัญชี
- เวลาตรวจสอบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี
- วิธีการตรวจสอบ
- ขนาดของตัวอย่าง
- รายการที่เลือกมาตรวจสอบ
- ช่วงเวลาที่ตรวจสอบ
ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์การตรวจสอบกับหลักฐานการสอบบัญชี
การตรวจสอบ การทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
- ความมีอยู่จริง (Existence)
- สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations)
- เกิดขึ้นจริง (Occurrence)
- ความครบถ้วน (Completeness)
- การแสดงมูลค่าหรือการตีราคา (Valuation)
- การวัดมูลค่า (Measurement)
- การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล(Presentation and Disclosure)

วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
1.การตรวจ อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย การตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Physical Examination)และ การตรวจบันทึกทางการบัญชีและเอกสาร(Documentation)


หลักฐานการสอบบัญชีในรูปของเอกสารอาจแบ่งเป็น
1.1 เอกสารภายใน (Internal Document)หมายถึง เอกสารมีการจัดทำ ใช้และเก็บรักษาไว้โดยกิจการ เช่น บัตรลงเวลาการทำงานของพนักงานใบรับสินค้า เป็นต้น
1.2 เอกสารภายนอก (External Document)หมายถึง เอกสารที่บุคคลภายนอกจัดทำขึ้น แต่เก็บรักษาไว้โดยกิจการ

2.การสังเกตการณ์ (Observation) หมายถึง การดูขั้นตอนหรือวิธีการปฎิบัติงานโดยบุคคลอื่นซึ่งอาจจะไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้ตรวจสอบ
3.การสอบถาม (Inquiry ) หมายถึง การหาข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ อาจเป็นการสอบถามด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
4.การขอคำยืนยัน (Confirmation) หมายถึง การหาคำตอบจากข้อสอบถามเพื่อยืนยันข้อมูลที่มีอยู่ในบันทึกทางการบัญชี
- การส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดบัญชีลูกหนี้ จากลูกหนี้ของกิจการ
- การขอข้อมูลจากธนาคาร
- การขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีความฟ้องร้องจากทนายความของกิจการ
- การส่งหนังขอคำยืนยันยอดบัญชีสินค้าฝากขายกับผู้รับฝากขาย
5.การคำนวณ (Computation) หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขในเชิงคำนวณในเอกสาร เบื้องต้น และยันทึกทางการบัญชี หรือการทดสอบการคำนวณโดยอิสระของผู้สอบบัญชี
6.การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure) หมายถึง การวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มที่สำคัญ รวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามความคาดหมายหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นหรือไม่

ประเภทของการตรวจสอบ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. การทดสอบควบคุม
2.การตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
- การทดสอบรายละเอียดของรายการแลยอดคงเหลือ
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การทดสอบการควบคุม (Test of control)
การทดสอบการควบคุม ประกอบด้วย วิธีการตรวจสอบต่อไปนี้
- การทดสอบรายการบัญชี (Test of Transaction)
- การสอบถามและการสังเกตการณ์เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
- การปฎิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
- การตรวจสอบเนื้อหาสาระ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการวางแผนงานสอบบัญชี

- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
- ช่วยให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบเป็นไปอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้เกิดความรวมมือกับลูกค้าและป้องกันการเข้าใจผิด โดยทำความตกลงกำหนดการต่างๆล่วงหน้า และยืนยันกำหนดการดังกล่าว
- ช่วยให้ผู้สอบบัญชีแน่ใจได้ว่า ได้มีการพิจารณาเรื่องสำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถระบุและจัดการกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
- ช่วยให้มีการมอบหมายงานแก่ผู้ช่วยอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้มีการประสานงานกับผู้สอบบัญชีอื่นและผู้เชี่ยวชาญ

การวางแผนงานตรวจสอบขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
การพิจารณาเลือกรับงานการสอบบัญชีมีความสำคัญต่อผู้สอบบัญชีมาก เนื่องจากการรับงานตรวจสอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง หรือกิจการที่ผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริต ย่อมทำให้ผู้สอบบัญชีมีความยากลำบากในการตรวจสอบ และอาจตรวจไม่พบข้อผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สอบบัญชีถูกฟ้องร้องจากผู้ใช้งบการเงินหรือาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลมีความสงสัยในการปฏิบัติงานสอบบัญชีได้
การรับงานสอบบัญชี จำแนกออกได้ 2 กรณี ดังนี้
1. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่
1.1 ลูกค้าใหม่ที่จัดตั้งกิจการใหม่
ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นก่อนที่จะรับงานสอบบัญชี
สำหรับลูกค้ารายใหม่ผลจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้สอบบัญชีอาจปฏิเสธที่จะรับงานตรวจสอบลูกค้ารายนั้น เนื่องจากการรับงานสอบบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงมีผลให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือปฏิบัติงานผิดมรรยาท หรือจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีซึ่งมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นไว้เพื่อประเมินความเสี่ยงเช่น
- ประเภทธุรกิจของลูกค้า
- ผู้เจ้าของและผู้บริหารของกิจการที่จะตรวจสอบ
- ฐานะการเงินของลูกค้า
- ฐานะทางสังคมของลูกค้า
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า
- ลักษณะของรายงานที่ต้องนำส่งหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1.2 ลูกค้าใหม่ที่งบการเงินของลูกค้าตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น
ผู้สอบบัญชีคนใหม่อาจต้องการทราบว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพ
ประการใดหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีใหม่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานสอบบัญชี เช่น ความขัดแย้งกันของผู้สอบบัญชีคนเดิมกับผู้บริหารของกิจการในเรื่องการใช้หลักการบัญชี หรือการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องมีหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม โดยมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับการทาบทามให้เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่ผู้สอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีเดิมเคยตรวจสอบ และสอบถามผู้สอบบัญชีเดิมว่า มีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมารยาทหรือไม่ ที่ควรนำมาพิจารณาในการรับงานลูกค้ารายนี้ ถ้าผู้สอบบัญชีเดิมตอบกลับว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาท ผู้สอบบัญชีที่กำลังพิจารณางานใหม่ต้องชี้แจงให้กิจการผู้ทาบทามทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้สอบบัญชีเดิมแจ้งให้ตนทราบถึง รายละเอียดเหตุผลทางจรรยาบรรณหรือมรรยาทของวิชาชีพและข้อขัดแย่งเกี่ยงกับการใช้หลักการบัญชีและวิธีการตรวจสอบโดยหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิม ในกรณีที่ถูกปฏิเสธจากกิจการที่ทาบทามหรือข้อมูลที่จะของทราบจากผู้สอบบัญชีเดิมถูกจำกัด ผู้สอบบัญชีพิจารณางานใหม่ต้องขอทราบเหตุผลจากกิจการนั้นแล้วนำมาพิจารณาว่าควรรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายนี้หรือไม่
2.การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม[Continuing Client] ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงจากลูกค้ารายเดิมว่าจะรับงานสอบบัญชีต่อไปหรือไม่ ผู้สอบบัญชีอาจตอบปฎิเสธลูกค้ารายเดิมด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้
2.1 การมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ และประเภทความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชี
2.2 ลูกค้าไม่จ่ายค่าสอบบัญชี
2.3 กิจการมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งผู้สอบบัญชีมีการประเมินว่าผู้บริหารชุดใหม่มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
ในการตอบรับงานสอบบัญชี ผู้สอบควรส่งหนังสื่อตอบรับงานสอบบัญชี[Engagement Letter] 2ฉบับเพื่อยืนยันและให้กอจการยอมรับเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
- วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและขอบเขตของการตรวจสอบ
- ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน
- ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อลูกค้า
- รูปแบบของรายงาน
- ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
ประโยชน์ของข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ
- เพื่อให้เข้าใจในระบบบัญชีและวิธีการปฎิบัติทางการสอบบัญชีของกิจการที่จะตรวจสอบ
- เพื่อช่วยในการระบุปัญหาและการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องของกิจการที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงสืบเนื่อง[Inherent Risk]หมายถึง โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
- การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ

แหล่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและกิจการที่ตรวจสอบ
- ประสบการณ์ตรวจสอบของปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการและธุรกิจประเภทนั้น
- การปรึกษาหารือกับบุคลากรของกิจการ เช่น กรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
- การปรึกษาหารือกับผู้สอบบัญชีอื่น ที่ปรึกษากฎหมาย และที่ปรึกษาด้านอื่นๆ
- การปรึกษาหารือกับผู้ที่มีความรู้นอกกิจการ เช่น นักเศรษฐศาสตร์และผู้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจประเภทนั้น
- การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการและโรงงาน
- เอกสารที่กิจการจัดทำเช่น รายงานการประชุม เอกสารที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น

ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น
โดยการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ค้นพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ [Materiality]

โดยความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรายงานทางการบัญชีที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ข้อมูล

ขั้นตอนการวางแผนการสอบบัญชี

ซึ่งในขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชีทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะต้องมีทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาขั้นต้นนั้นนั้นก็คือลักษณะ ขอบเขต ระยะเวลาในตรวจสอบบัญชีปรากฏขึ้นในขั้นตอนของวางแผนงานสอบบัญชีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. การพิจารณางานสอบบัญชี
ขั้นตอนที่ 2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 4. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
ขั้นตอนที่ 5. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และเสี่ยงสืบเนื่อง
ขั้นตอนที่ 6. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
ขั้นตอนที่ 7. การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

การวางแผนงานสอบบัญชี

การที่วางแผนงานสอบบัญชี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตรวจสอบ ได้อย่างประสิทธิ์ภาพและประสิทธิ์ผลด้วยการพัฒนากลยุทธ์ ซึ่งจะมีการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานหรือลักษณะและเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสม
การวางแผนงานสอบบัญชี หมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฎิบัติงาน วิธีการหรือลักษณะและเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้การตรวจสอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1.วัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำใน ส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

2.แผนงานสอบบัญชี
1. ลักษณะของการตรวจสอบ (Nature of Audit Test)
ว่าจะใช้วิธีการตรวจสอบแบบใดการทดสอบและการควบคุม หรือ การตรวจสอบเนื้อหาสาระ และจะใช้วิธีใด เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เช่น การขอคำยืนยัน การสังเกตการณ์ การตรวจสอบเอกสาร และการปฏิบัติซ้ำ
2. ขอบเขตของการตรวจสอบ (Extene of Audit Test)
คือการเรียกตัวอย่างว่าจะเลือกขึ้นทกสอบมากน้อยเพียงใด ขนาดของตัวอย่างและเลือกรายการใดมาตรวจสอบ
3. ระยะเวลาของการตรวจ (Timing of Audit Test)
ว่า จะเข้าตรวจสอบระยะเวลาใดระหว่างปีด้วยหรือจะเข้าตรวจสอบหลังวันสิ้นงวดบัญชี แต่เพียงอย่างเดียวนั้นก็คือถ้าเข้าตรวจระหว่างปีหรือก่อนสิ้นงวดก็จะดูการ ควบคุมภายในว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่ถ้าเป็นไปตามระเบียบก็จะมีความเสี่ยง สุดแต่ถ้าเข้าตรวจสอบตอนสิ้นงวดบัญชีด้วยก็จะดูจำนวนเงินเป็นสาระสำคัญ
ระยะเวลาของการตรวจสอบ[Timing of Audit Test] ระยะเวลาของการตรวจสอบมีทั้งหมด 2 ระยะเวลาคือการเข้ามาตรวจสอบระหว่างปี [Interim Visit] หรือเข้ามาตรวจสอบหลังสิ้นงวดบัญชี [Final Visit] แต่เพียงอย่างเดียวและระยะเวลา(จำนวนชั่วโมงการทำงาน)ที่จะใช้ในแต่ละกิจการ
ตัวอย่างคือ ถ้าเข้าตรวจระหว่างปีนั้นก็คือก่อนวันที่ 31 ธ.ค.ของปีนั้นแต่ถ้าเข้าตรวจในวันสิ้นงวดบัญชีนั้นก็คือ วันที่ 31 ธ.ค.ของปีนั้น
ในการกำหนดลักษณะ ขอบเขตและระยะเวลาของการตรวจสอบจะอยู่ในช่วงของการวางแผนงานสอบบัญชีซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
ความเสี่ยงในการทำงาน ความซับซ้อนของธุรกิจและความมีสาระสำคัญในการสอบบัญชี
ระบบการควบคุมภายในของลูกค้า
ความรู้และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี
ประสิทธิภาพของการใช้วิธีการตรวจสอบประเภทต่างๆ

3.นำไปปฏิบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อจำกัด

  1. ข้อจำกัดของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของกิจการ
  2. การใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีในการเลือกวิธีการตรวจสอบ
  3. การใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของหลักฐาน
  4. การใช้ดุลยพินิจในการสรุปผลการตรวจสอบจากหลักฐานที่รวบรวมได้

สรุป

  1. สุ่มรายการ
  2. ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีแต่ละคน
  3. ความเสี่ยงให้เป็น 0 ได้

ผู้เกี่ยวข้องในการสอบบัญชี

1. ผู้ตรวจสอบ Auditor มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี
2. ผู้จัดทำ คือ ผู้บริหาร Management จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- เกิดขึ้นจริง (งบกำไรขาดทุน)/มีอยู่จริง (งบดุล)
- ข้อมูลต้องครบถ้วน
- สินทรัพย์และหนี้สิน ต้องเป็นสิทธิ/ภาระผูกพันของกิจการ
- ตีราคา (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น) และวัดมูลค่า (รายได้และค่าใช้จ่าย) อย่างถูกต้อง
- แสดงรายการโดยจัดเป็นหมวดหมู่และเปิดเผยข้อมูล
3. ผู้ใช้งบการเงิน User ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ

คุณสมบัติผู้สอบบัญชี

  1. ความซื่อสัตย์และศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
  2. มนุษยสัมพันธ์และการเป็นผู้นำ
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลและการสอบสวนข้อเท็จจริง
  4. การฝึกอบรม
  5. การเขียนรายงาน
  6. ภาษีอากร
  7. กฎหมายธุรกิจ
  8. เศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ
  9. การจัดวางระบบงานและการประเมินผล
  10. ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน
  11. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป

สรุป

  1. Ethics = การมีจริยธรรม
  2. Standard = มีมาตรฐาน
  3. Skepticism = ความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินว่างบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินหรือไม่
  • เพื่อที่จะให้ผู้สอบบัญชีได้มาซึ่งหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฎในงบการเงิน
  • เพื่อให้ได้ผลสรุปที่อาจใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินที่ตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่ควรมีในสาระสำคัญและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป GAAP หรือไม่

การสอบบัญชี Auditing

การสอบบัญชี (Auditing) เป็นกระบวนการอย่างมีระบบเพื่อทำการรวบรวมและประเมินหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและรายงานผลให้ผู้ใช้งบการเงินทราบ
การสอบบัญชี (Auditing) การรวบรวมหลักฐานที่มีในกิจการเพื่อมาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์มาตราฐานการบัญชีที่กำหนดเพื่อแสดงรายงานให้กับผู้ใช้งบการเงิน
สรุป
1.รวบรวมหลักฐาน
2.เปรียบเทียบกับมาตรฐานการบัญชี
3.แสดงรายงานกับผู้ใช้